หน่วยที่3




หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
    การสื่อสาร หมายถึง การถ่ายทอดความรู้หรือข้อมูลจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารหรืออาจจะผ่านคอมพิวเตอร์หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆก้อได้ เพื่อให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเข้าใจข้อมูลที่ส่งหรือรับได้ตรงกัน ความสำคัญในการสื่อสาร 1. เป็นสิ่งที่เราต้องใช้ไม่ว่าจะเป็นเพศหรืออายุอะไรก้อตาม การสื่อสารเป็นสิ่งที่มนุษย์เราขาดไม่ได้ 2. การสื่อสารทำให้ทั้งผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจ 3. มีความสำคัญในด้านธุรกิจต่างๆ ในด้านชีวิตประจำวัน สังคม หรือแม้แต่การปกครอง ในการสื่อสารนั้นผู้สื่อสารจะต้องเข้าใจในข้อมูลหรือสิ่งที่ตนเองจะสื่อสารออกไปก่อน จะต้องเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง และสื่อสารอย่างชัดเจน และเข้าใจง่ายหรือเหมาะกับเพศหรืออายุ การศึกษาของผู้รับ

  ในการสื่อสารนั้นต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด  4  อย่าง
    
 ผู้ส่งสาร  เป็นผู้ที่ส่งข้อมูลข่าวสารไปยังผู้รับสาร โดยใช้สื่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ในการส่งสาร ในการสื่อสารนั้นจะเป็นทั้งการสื่อสารทางเดียว และการสื่อสารสองทาง และผู้ส่งสารจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่ต้องการสื่อสารด้วย เพื่อให้การสื่อสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
     
       ข่าวสาร  ข่าวสารที่ดีจะต้องแปลเป็นรหัส เพื่อสะดวกในการรับการส่งและการตีความ  เนื้อหาก็จะต้องมีความหมายที่ดีและง่าย
       
       ช่องทางในการรับสาร  คือ  ประสาทสัมผัสทั้งห้า  ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัส สำหรับตัวกลางที่คนสร้างขึ้นคือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์   สิ่งพิมพ์  กราฟิก  เป็นต้น
        ผู้รับสาร  คือ  ผู้ที่เป็นเป้าหมายของผู้ส่งสาร ผู้รับสารจะต้องเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีต่อข้อมูลข่าวสาร


หลักในการสื่อสาร
1. ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์ จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสาร และปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพ ในการสื่อสาร 
2. ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร
3. คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง
4. การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง  ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
5. ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว
6. คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการสื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสม
7. คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา
  



อุปสรรคในการสื่อสาร
1.อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
2.อุปสรรคที่เกิดจากสาร
3.อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
4.อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
การเรียนการสอน การเรียน หมายถึง การฝึกฝน การศึกษาค้นคว้า การได้รับประสบการณ์ต่างๆที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้หรือการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ การสอน หมายถึง การแนะแนว จัดประสบการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับเด็ก ซึ่งในการเรียนการสอนนั้นจำเป็นต้องใช้สื่อต่างๆเข้ามาช่วยในการสอนด้วยเพื่อสร้างความน่าสนใจหรือความสะดวกในการค้นคว้า และการสอนของครู เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือ โสตทัศนวัสดุ เป็นต้น



การเรียนรู้กับการเรียนการสอน
การเรียนรู้  หมายถึง  กระบวนการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้โดยทั่วไปมักเน้นผลที่เกิดจากการกระทำ
การสอน  หมายถึง  การจัดประสบการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการ  ซึ่งครูจะต้องมีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนโดยสอนให้การศึกษาแก่เด็กและฝึกอบรม ซึ่งครูจะต้องสื่อกับผู้เรียนให้เข้าใจด้วย  สิ่งที่ครูจะนำมาเพื่อสามารถสื่อให้กับผู้เรียนได้นั้น อาจจะได้มาจากวัสดุการเรียนการสอนต่างๆ หรือโสตทัศนวัสดุ ต่างๆเป็นต้น
1.                 วิธีสอน มักจะอธิบายในรูปแบบของการนำเสนอต่างๆ เช่น การบรรยาย หรือการอภิปรายเป็นต้น วิธีสอนจะเป็นในลักษณะของกระบวนการที่ใช้ในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจและได้รับความรู้จากเนื้อหาสาระที่เรียน ส่วนสื่อจะเป็นเนื้อหาความรู้ เกี่ยวกับผู้ส่งสารและผู้รับสาร
    การสอนเป็นการจัดการเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การถ่ายโอนความรู้หรือสารสนเทศจากผู้สื่อไปยังผู้รับ เรียกว่าการสื่อสาร การเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้ ย่อมหมายถึงการได้รับความรู้ข่าวสารใหม่ๆ ด้วย ด้วยเหตุนี้การสอนจึงเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง ดังนั้น เพื่อให้สามารถใช้สื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร และปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนวิธีการแก้ไข เพื่อเป็นแนวคิดใน การใช้สื่อเพื่อการเรียนการสอนต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น