หน่วยที่4


หน่วยการเรียนที่ 4 จิตวิทยาการเรียนการสอน
การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
พฤติกรรมการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก.
จิตวิทยาพัฒนาการ
เป็นจิตวิทยาแขนงหนึ่งที่มุ่งศึกษามนุษย์ทุก วัยตั้งแต่ปฏิสนธิจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต ในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านการเจริญเติบโตทางร่างกาย ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก เจตคติ พฤติกรรมการแสดงออก สังคม บุคลิกภาพ ตลอด จนสติปัญญาของบุคคลในวัยต่างกัน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะพื้นฐาน ความเป็นมา จุดเปลี่ยน จุดวิกฤตในแต่ละวัย
การรับรู้และการเรียนรู้
การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมซึ่งเนื่องมาจากประการณ์หรือการฝึกหัดและพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นมีลักษณะค่อนข้างถาวร
หลักของการเรียนรู้ มี 3 รูปแบบ คือ
1.การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (classical conditioning)เป็นการทดลองโดยใช้สัตว์เป็นตัวทดลอง มีผงเนื้อและกระดิ่งเป็นสิ่งเร้า จะใช้กระดิ่งเป็นตัววางเงื่อนไข จึงเรียกกระบวนการนี้ว่า การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก
2.การวางเงื่อนไขในมนุษย์วัตสัน และเรย์นอร์ ได้ร่วมกันวางเงื่อนไขกับคน ซึ่งเป็นการทดลองที่มีชื่อเสียงมากตามแนวคิดของวัตสัน เขาเห็นว่าการเรียนรู้คือการนำเอาสิ่งเร้าไปผูกพันกับการตอบสนองและการตอบสนองที่คนเรามีติดตัวมาก็คือ อารมณ์ เช่น กลัว โกรธ รัก ดังนั้นเขาจึงศึกษาการวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความกลัวของเด็กการทดลองได้กระทำกับเด็กคนหนึ่งชื่อ อัลเบิร์ต (Albert) มีอายุ 11 เดือน
โดยปกติเด็กคนนี้ไม่รู้จักกลัวสัตว์ใดๆ เลย และชอบเล่นตุ๊กตาที่ทำด้วยผ้าสำลีเป็นขนปุกปุย ต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวที่มีขนปุกปุยน่ารัก มีความเชื่องกับคนมาให้เด็กคนนี้ดู พอเด็กเห็นก็พอใจอยากเล่น จึงคลานเข้าไปจับต้องและเล่นกับหนูขาวจนเป็นที่พอใจ แล้ววัตสันก็นำหนูขาวออกไป ครั้นต่อมาวัตสันนำเอาหนูขาวมาให้เด็กคนนี้ดูอีก เมื่อเด็กเห็นก็ดีใจรีบคลานเข้าไปจะจับหนูขาว พอเข้าไปใกล้กำลังเอื้อมมือจะจับ วัตสันก็เคาะเหล็กทำให้เกิดเสียงดัง เด็กจึงตกใจกลัง ร้องไห้ ไม่กล้าจับหนูขาว วัตสัตได้ทดลองในลักษณะนี้ประมาณ 5 ครั้งติดกัน ทุกครั้งเด็กจะร้องไห้และตกใจกลัว ในที่สุดก็เกิดกลังหนูขาว ซึ่งเพียงแต่เห็นหนูขาวอยู่ไกล ๆ ก็ร้องไห้เสียแล้ว นั่นเป็นการแสดงให้เห็นว่า เด็กกลัวหนูขาวเพราะถูกวางเงื่อนไข
3.การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (operant conditioning)สกินเนอร์ และ ธอร์นไดค์ เป็นผู้นำที่สำคัญและในช่วงระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ ธอร์นไดค์ได้ศึกษาถึงความสามารถในการคิดและหาเหตุผลของสัตว์ ทำให้เขาค้นพบหลักการเรียนรู้แบบการกระทำซึ่งสกินเนอร์ก็ได้ให้ความสนใจในแนวคิดนี้และได้ให้ชื่อว่า การวางเงื่อนไขแบบการกระทำการศึกษาในตอนแรกได้ศึกษากับ แมว สุนัข และลิง แต่ที่มีชื่อเสียงและรู้จักกันดีเป็นการศึกษากับแมว โดยเขาจะจับแมวที่กำลังหิวใส่กรงใบหนึ่งที่เขาสร้างขึ้นมา กรงนั้นมีชื่อว่า กรงประตูกล (Puzzle Box) ซึ่งที่กรงจะมีเชือกและลวดสปริงผูกติดต่อกับแผ่นไม้เล็ก ๆ ถ้าบังเอิญไปกดแผ่นไม้เล็ก ๆ นี้จะทำให้เกิดกลไกการดึงทำให้ประตูเปิดออกได้ การทดลองของเขาจะเริ่มโดยจับแมวที่กำลังหิวใส่ไว้ในกรง และข้าง ๆ กรงด้านนอกจะมีปลาดิบวางไว้ไม่ไกลพอที่แมวจะมองเห็นได้ถนัด ในการทดลองสองสามครั้งแรก แมวซึ่งหิวมีอาการงุ่นง่านเพื่อหาทางออกไปกินปลา มันปฏิบัติการตอบสนองมากมายโดยวิ่งไปหลักกรง หน้ากรง เอาอุ้งเท้าเขี่ย เอาสีข้างถูกรง แต่ทั้งหมดก็เป็นไปด้วยการเดาสุ่มจนกระทั่งบังเอิญแมวไปถูกแผ่นไม้เล็ก ๆ นั้น ทำให้ประตูเปิดออก แมวจึงได้กินปลาดิบ
จิตวิทยาการรับรู้การเรียนรู้และจิตวิทยาพัฒนาการการรับรู้
เป็นกระบวนการแปลความหมายระหว่างประสาทสัมผัสกับระบบประสาทของมนุษย์ ที่ใช้อวัยวะรับสัมผัสสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทำให้ส่วนของประสาทสัมผัสในอวัยวะนั้น ส่งผลเชื่อมโยงไปยังสมอง และสมองจะถอดรหัสนั้นไปยังระบบประสาท ทำให้เกิดการรับรู้และรู้สึก
จิตวิทยาการรับรู้ เป็นเหตุการณ์ความรู้สึกที่เป็นผลจากกิจกรรมของเซลล์สมอง เป็นลักษณะหนึ่งของจิตแต่ไม่ใช่จิตทั้งหมด
จิตวิทยาการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้นพฤติกรรมการเรียนรู้
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3. ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอน
ในการสอนที่ดี ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้ โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่างๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยากจิตวิทยาพัฒนาการ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านต่างๆของมนุษย์ ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงวัยชรา
ด้านการพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติสำหรับประเทศไทยในอนาคต
1. ด้านแนวคิดเสริมสร้างความเป็นนานาชาติและความเป็นไทยควบคู่กันไป
2. ด้านจุดมุ่งหมายการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติ มีแนวโน้มเน้นคุณภาพการคิดเป็นทำเป็น ความคิดสร้างสรรค์การพัฒนาทักษะทางด้านภาษา คอมพิวเตอร์และการเรียนรู้ความแตกต่างทางด้านภาษาและวัฒนธรรม
3. ด้านหลักสูตรเป็นหลักสูตรที่ทันสมัย มีการยอมรับจากนานาประเทศ เน้นความเป็นสากลเน้นการเรียนการสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลาง
4. ด้านผู้เรียน มีความหลากหลายเชื้อชาติ และสัญชาติ
5. ด้านผู้สอน ควรค้นคว้าวิเคราะห์ปัญหาด้านต่าง ๆ มากขึ้น
6. ด้านภาษาที่ใช้ ส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษ
7. ด้านสื่อการเรียนการสอนเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ มีระบบให้ใช้ได้ง่าย
8. ด้านเกณฑ์ในการคัดเลือก นักเรียน ควรมีคณะกรรมการของโรงเรียนร่วมกันสร้างเกณฑ์คัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนโดยทำเป็นเกณฑ์กลางที่ชัดเจนของโรงเรียน
9. ด้านการวัดและการประเมินผล ประเมินตามสภาพความเป็นจริง
10. ด้านระบบการศึกษาเป็นระบบ 12 ปี
11. ด้านการบริหารงบประมาณ เป็นไปตามความเป็นจริงให้อิสระกับโรงเรียนนานาชาติในการบริหารงบประมาณ โดยการยกเลิกการควบคุมการกำหนดค่าเล่าเรียน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ
12. ด้านการบริหารบุคลากร บุคลากรต้องพัฒนาอยู่เสมอมิฉะนั้น จะกระทบคุณภาพทางวิชาการ
13. ด้านการบริหารอาคารสถานที่ จัดอาคารสถานที่ให้เหมาะสม สถานศึกษาและสถานการณ์ นักเรียนไม่จำเป็นต้อง นั่งเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว
14. ด้านคุณภาพของนักเรียน คุณภาพของนักเรียนจะสูงขึ้น เด็กมีการเรียนรู้ที่ทันสมัย กล้าแสดงออกเรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ มากขึ้น มีทักษะที่หลากหลาย สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมต่างประเทศได้
โรงเรียนการพัฒนารูปแบบการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติด้านแนวคิด
1. การศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติจะต้องเสริมสร้างความเป็นนานาชาติและความเป็นไทยควบคู่กันไป แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มาก
2. ความต้องการการศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติในอนาคตจะเพิ่มขึ้นเพราะผู้ปกครองต้องการให้บุตรหลานมีความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศ แนวโน้มที่สอดคล้องกันและความเป็นไปได้มาก
3. โรงเรียนนานาชาติที่ใช้หลักสูตรต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง แต่หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการที่สอนเป็นภาษาอังกฤษจะเพิ่มขึ้นแนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านจุดมุ่งหมาย
4. การศึกษาขั้นพื้นฐานนานาชาติมีแนวโน้มเน้นคุณภาพการคิดเป็น ทำเป็น ความคิดสร้างสรรค์ เน้นการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาคอมพิวเตอร์ และการเรียนรู้ ความแตกต่างทางด้านภาษาและวัฒนธรรม แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากที่สุด
5. มุ่งให้ผู้เรียนมีความเป็นสากล และเป็นพลเมืองโลก แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านหลักสูตร
6. เป็นหลักสูตรที่ทันสมัย มีการยอมรับจากนานาประเทศ เน้นความเป็นสากล เน้นการเรียนการสอนให้เด็กเป็นศูนย์กลาง แนวโน้มความสอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านผู้เรียน
7. มีหลากหลายเชื้อชาติและสัญชาติแนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านผู้สอน
8. ผู้สอนควรค้นคว้าวิเคราะห์ปัญหาด้านต่าง ๆ มากขึ้น แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านภาษาที่ใช้
9. ส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านสื่อการเรียนการสอน
10. เป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีมาตรฐาน มีระบบให้ใช้ได้ง่าย แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านเกณฑ์ในการคัดเลือกนักเรียน
11. ควรมีคณะกรรมการของโรงเรียนร่วมกันสร้างเกณฑ์คัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนโดยทำเป็นเกณฑ์กลางที่ชัดเจนของโรงเรียนแนวโน้มที่ สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านการวัดและประเมินผล
12. ประเมินตามสภาพความเป็นจริงประเมินหลายแบบ ให้เด็กทำงาน การสังเกตวัดจากผลงานของเด็ก วัดโดยไม่เอาเด็กไปเทียบกับคนอื่น วัดเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนวัดเพื่อให้เด็กปรับปรุงตนเองมีแฟ้มสะสมงานซึ่งเด็กประเมินงานเองได้ แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มาก
13. เป็นการวัดซึ่งเน้นการเปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นเพิ่มขึ้น เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งผู้จัดหลักสูตร ผู้สอน พ่อแม่ผู้ปกครอง ชุมชน และตัวเด็กเองก็มีส่วนร่วมในการประเมินด้วย แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านระบบการศึกษา
14. เป็นระบบ 12 ปี แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มาก
15. ควรมีการโอนหน่วยกิตระหว่าง ระบบ /ประเทศ แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มาก
16. ระบบการศึกษามีการขยายตัว มากขึ้นมีหลายรูปแบบมากขึ้น แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านการบริหารงบประมาณ
17. เป็นไปตามความเป็นจริงให้อิสระกับโรงเรียน นานาชาติในการบริหารงบประมาณโดยการยกเลิกการควบคุมการกำหนดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มาก
18. โรงเรียนนานาชาติดำรงอยู่ได้ด้วยทุนของตัวเอง งบประมาณหลักได้จากค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ รัฐควรให้การสนับสนุนเช่น เงินยืมดอกเบี้ยต่ำ กู้ระยะยาว ยกเว้นภาษีอุปกรณ์ ค่าคนเข้าเมือง ค่าวีซ่า เป็นต้น แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านการบริหารบุคลากร
19. บุคลากรต้องพัฒนาอยู่เสมอ มิฉะนั้นจะกระทบคุณภาพทางวิชาการ แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มาก
20. ผู้บริหารควรส่งเสริมขวัญและกำลังใจแก่ครูอย่างเสมอภาค แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มาก
21. โรงเรียนนานาชาติมีอิสระในการบริหารบุคลากรตั้งแต่การคัดเลือกครู การพิจารณาความดีความชอบ การลงโทษ และการเลิกจ้างแนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านการบริหารอาคารสถานที่
22. จัดอาคารสถานที่ให้เหมาะสมกับสถานศึกษา และสถานการณ์ นักเรียนไม่จำเป็นต้องนั่งเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มาก
23. อาคารสถานที่เป็นมาตรฐานนานาชาติ จะต้องเป็นอาคารที่มีความปลอดภัยสอดคล้องกับหลักสูตรที่ใช้ แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มากด้านคุณภาพของนักเรียน
24. คุณภาพของนักเรียนจะสูงขึ้นเด็กมีการเรียนรู้ที่ทันสมัย กล้าแสดงออก เรียนรู้วัฒนธรรมต่าง ๆ มากขึ้น มีทักษะหลากหลายสามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมต่างประเทศได้แนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มาก
25. เน้นคุณภาพที่เป็นนานาชาติจริงสามารถเรียนต่อทั้งในต่างประเทศและในประเทศได้เรียนจบแล้วมีศักดิ์และสิทธิ์เท่ากับนานาชาติมาตรฐานเท่ากับต่างประเทศแนวโน้มที่สอดคล้องกันและเป็นไปได้มาก
ทฤษฎีการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึงการเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากประสบการณ์ที่คนเรามีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม หรือจากการฝึกหัดรวมทั้งการเปลี่ยนปริมาณความรู้ของผู้เรียน งานที่สำคัญของครูก็คือช่วยนักเรียนแต่ละคนให้เกิดการเรียนรู้ หรือมีความรู้และทักษะตามที่หลักสูตรได้วางไว้ ครูมีหน้าที่จัดประการณ์ในห้องเรียน เพื่อจะช่วยให้นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมตามวัตถุประสงค์ของแต่ละบทเรียน นักจิตวิทยาได้พยายามทำการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทั้งสัตว์และมนุษย์ และได้ค้นพบหลักการที่ใช้ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้ในโรงเรียนได้ ทฤษฎีของการเรียนรู้มีหลายทฤษฎีแต่จะขอนำมากล่าวเพียง 3 ทฤษฎี คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
2. ทฤษฎีการเรียนรู้พุทธิปัญญานิยม
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา
1. ทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
ความคิดพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้พฤติกรรมนิยม
1.พฤติกรรมทุกอย่างเกิดขึ้นโดยการเรียนรู้และสามารถจะสังเกตได้
2.พฤติกรรมแต่ละชนิดเป็นผลรวมของการเรียนที่เป็นอิสระหลายอย่าง
3.แรงเสริม (Reinforcement) ช่วยทำให้พฤติกรรมเกิดขึ้นได้
นักจิตวิทยาได้แบ่งพฤติกรรมของมนุษย์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. พฤติกรรมเรสปอนเดนต์ (Respondent Behavior)  หมายถึงพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าพฤติกรรมตอบสนองก็จะเกิดขึ้น ซึ่งสามารถจะสังเกตได้ ทฤษฎีที่อธิบายกระบวนการเรียนรู้ประเภทนี้ คือ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory)
2. พฤติกรรมโอเปอแรนต์ (Operant Behavior)  เป็นพฤติกรรมที่บุคคลหรือสัตว์แสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมา โดยปราศจากสิ่งเร้าที่แน่นอน และพฤติกรรมนี้มีผลต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนทฤษฎีการเรียนรู้ที่ใช้อธิบาย Operant Behavior เรียกว่า ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant Conditioning Theory) ซึ่งทฤษฎีนี้เน้นว่าต้องการให้ Operant Behavior คงอยู่ตลอดไป
ตัวอย่างทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยม
1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้าผู้ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 18491936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฏการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฏการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ำลายของสุนัขและต่อสายรับน้ำลายไหลออกสู่ขวดแก้วสำหรับวัดปริมาณน้ำลาย จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 78 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฏการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเบบคลาสสิก
จากหลักการข้างต้นสามารถสรุปหลักการเรียนรู้ของพาฟลอฟ ดังนี้
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค = สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข + สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข = การเรียนรู้จากการสังเกตสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการทดลองของพาฟลอฟ สามารถสรุปออกมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ และกฏการเรียนรู้ดังนี้
ทฤษฎีการเรียนรู้
1. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงเรื่อย ๆ และหยุดลงในที่สุดหากไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ
4. พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สิ่งเร้าที่เชื่อมโยงกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติจะลดลงและหยุดไปเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
5. มนุษย์มีแนวโน้มที่จะจำแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง

กฎแห่งการเรียนรู้
1. กฎแห่งการลดภาวะ (Law of extinction) คือ ความเข้มข้นของการตอบสนอง จะลดน้อยลงเรื่อย ๆ ถ้าอินทรีย์ได้รับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว หรือความ มีสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขห่างออกไปมากขึ้น
2. กฎแห่งการฟื้นคืนสภาพ (Law of spontaneous recovery) คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ลดลงเพราะได้รับแต่สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเพียงอย่างเดียว จะกลับปรากฎขึ้นอีกและเพิ่มมากขึ้น ๆ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้อย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขมาเข้าคู่ช่วย
3. กฎแห่งสรุปกฏเกณฑ์โดยทั่วไป (Law of generalization) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการแสดงอาการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขหนึ่งแล้ว ถ้ามีสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองเหมือนกับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น
4. กฎแห่งความแตกต่าง (Law of discrimination) คือ ถ้าอินทรีย์มีการเรียนรู้ โดยการตอบสนองจากการวางเงื่อนไขต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้ว ถ้าสิ่งเร้าอื่นที่มีคุณสมบัติแตกต่างจากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเดิม อินทรีย์จะตอบสนองแตกต่างไปจาก สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขนั้น เช่น ถ้าสุนัขมีอาการน้ำลายไหลจากการสั่นกระดิ่งแล้วเมื่อสุนัขตัวนั้นได้ยินเสียงประทัดหรือเสียงปืนจะไม่มีอาการน้ำลายไหล
ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตในมุมมองของพาฟลอฟ คือ การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค ซึ่งหมายถึงการใช้สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ คือ การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตเกิดการเรียนรู้จริงแล้วจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 สิ่งในลักษณะเดียวกัน แล้วไม่ว่าจะตัดสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งออกไป การตอบสนองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองได้นั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น